บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2013

หนังสือคอมพิวเตอร์เมืองไทย กับความเป็นจริง

สำหรับบลอกวันนี้ อาจจะรุนแรงไป แต่ เรายอมรับกันแบบตรงๆ เอาแบบลูกผู้ชายไม้ตะพด เถอะครับ ว่ามันเป็นแบบนี้จริงๆ อย่าได้มาเถียงข้างๆ คูๆ เพื่อให้ชนะเลย ปัญหาที่เราพบในวันนี้คือหนังสือคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่ง นับวันก็ยิ่งเลือนหายไป ย้ำครับว่า เลือนหายไปเรื่อยๆ แล้ว ที่เห็นมีอยู่ก็ยังกับว่าลอกกันมาเขียนเป็นอีกเล่ม หรือบางเล่ม ก็เปลี่ยนแค่ปก เนื้อหาแทบไม่ได้แก้อะไรเลย (สำหรับเล่มที่นักเขียนคนเดียวกัน เช่น VB 2013, VB 2015, VB 2018) หลายคนก็คงนึกออก ว่าเล่มไหน เอาล่ะ ไม่ว่าปัญหานั้นจะมีสาเหตุมาจากอะไร แต่ อย่างหนึ่งที่เห็นชัดเลยคือ หนังสือส่วนมาก ย้ำอีกรอบว่า ส่วนมากนะครับ ไม่ได้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของโปรแกรมเมอร์ หรือพูดง่ายๆ เลยก็คือ ไอ้คนเขียนหนังสือ ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ครับ อ้าว มาเขียนหนังสือสอนให้คนเขียนโปรแกรม แต่ตัวเองไม่ใช่โปรแกรมเมอร์เนี่ยนะ นั่นล่ะที่มาของปัญหาข้อที่สอง ปัญหาข้อที่สองครับ หนังสือเหล่านี้จากเคยให้ความรู้กันแบบไม่กั้ก มีเท่าไหร่จัดมาให้เต็ม คราวนี้มันกลายเป็นธุรกิจไปแล้ว กั้กไว้ เก็บไว้ แล้วยังไม่พอครับ ไปยัดเยียดเนื้อหาอะไรก็ไม่รู้สารพัดไปหมด ใส่ลงไป ไล่กัน

การศึกษาไทย กับโลกแห่งความจริง ของวงการซอฟต์แวร์

สำหรับบทความนี้ ผมก็เชื่อว่าหลายคนได้อ่านแล้วคงต้องเกิดอาการ อยากด่าผมแน่นอน แต่ไม่เป็นไรครับ ด่าได้ ติได้ เพราะมันคือ "ความคิดเห็น" ของคุณ เริ่มเลยละกัน... ตอนนี้ตลาดแรงงานด้านโปรแกรมเมอร์ ผมใช้คำนี้ไม่ใช่ว่า ตอกบัตรเป็นแหล่ง อย่างเดียวนะครับ แต่ผมรวมไปถึงการเป็น startup ด้วย ต่อๆๆ ก่อนจะหลงประเด็น ตอนนี้ครับ ตลาดไปทางด้าน เทคโนโลยียุคใหม่ไม่ว่าจะเป็น Web Application แบบ Responsive, CSS Framework, Layout Managent, Theme, รวมไปจนถึงเทคโนโลยีของหน้าจอที่สาม น่านไง มันอะไรอีกล่ะวะ หน้าจอที่สาม มันคือไรฟะ ??? ก็พวกโทรศัพท์ พวก Tablet นั่นล่ะครับ มันอยู่กับคนแทบทุกคนแล้วตอนนี้ และอนาคตมันก็จะอยู่ในออฟฟิศ ใช้ทำงานแทน Notebook ได้แล้ว เช่น ระบบบัญชี ระบบการเงิน ระบบขนส่ง ระบบจัดซื้อ ระบบพนักงาน ระบบงานทะเบียน ระบบอื่นๆ โอยยย ผมเล่าไม่ไหว แล้วยังไงต่อล่ะ .... เอาแบบตรงๆ นะครับ ตอนนี้มีเพียงสถาบันการศึกษาไม่กี่แห่งเท่านั้น ที่รู้ว่า สถานการณ์เขากำลังไปทางไหน ส่วนที่เหลือทำอะไรครับ ยังคงเฉยไม่รู้เรื่อง สอนตามปกติ เรียนกันตามปกติอยู่ เผลอๆ อย่าหาว่าผมเว่อเลยนะครับ บางแห่งยังเ

โปรแกรมเมอร์ไทย กับงบวิจัย

เห็นมีบางบลอกที่เขียนเอาไว้เรื่อง งบวิจัย ว่าประเทศไทยไม่มีงบวิจัยเพื่อพัฒนาฝีมือ โปรแกรมเมอร์ไทย หรือไม่ก็เอาไว้สนับสนุน ผลงาน โปรแกรมเมอร์ไทย เช่นค่าโฮส ค่าโดเมน ค่าโน่นนี่นั่น เอาตรงๆ ครับ ผมอยากให้เรามองว่า ผลงานที่ดีนั้น ต้องสร้างจากงานที่แสนจะธรรมดาก่อน สร้างออกมาให้เป็นรูปธรรม มองเห็นได้ จับต้องได้ ใช้งานได้ แม้ว่าอาจจะไม่อลังการมากนัก ก็ไม่เป็นไร จากนั้นก็พัฒนาต่อไปอีก  อย่าหยุดครับ ทำต่อไป เรื่องนี้ แทบไม่ต้องไปใช้งบอะไรจากใครเลยซักบาท ก็แค่ค่าโฮสปีนึงพันกว่าบาท จะบอกว่าไม่มี มันก็ไม่ใช่หรอก จริงไหมครับ เอาล่ะ ดังนั้นตัดออกไปได้เลยเรื่องเงินทุน หรือบางคนบอกว่า ไม่มีเงินเช่าโฮส งั้นเอางี้ ไม่มีเงินเช่า ก็ไม่เป็นไรครับ สร้าง แอพ ไปวางสิ บน Store ต่างๆ ฟรีครับ ไม่ได้เสียเงินซักบาท พูดง่ายๆ คือลงทุนด้วยมือเปล่าได้เลย ขอเพียงมีไอเดีย มีความคิด และสร้างมันออกมาให้มองเห็น จากนั้นก็ทำการโปรโมทให้คนได้รู้จัก และเริ่มทำเป็นระบบภาษาอังกฤษ เพื่อให้คนทั่วโลกได้รับรู้ผลงานเรา หากงานนี้มันเจ๋งจริง อย่าง Google, Facebook, Youtube, Twitter, Tumblr... และอื่นๆ ที่ผมไม่ได้เอ่ยชื่อ

เขียนเสร็จแล้วหนังสือ Struts

รูปภาพ
เป็นอีกสุดยอดผลงานที่ผมดีใจมากครับ เพราะว่านี่คือหนังสือเล่มแรกของประเทศไทย กับ Struts Web Framework