การเขียนโปรแกรม กับความเป็นจริง

สำหรับบทความนี้ ผมชั่งใจอยู่นาน ว่าจะเขียนดีหรือไม่ เพราะมันอาจไปกระทบกับ "บทความ" หรือแนวคิด ของใครบางกลุ่ม
...
ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า หลายๆ หน่วยงาน พยายามหันมาใช้ Software เพื่อทดแทนการใช้กระดาษ ก็ด้วยเหตุผลมากมาย หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการลดค่ากระดาษ ลดขั้นตอนทำงาน ลดระยะเวลา ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ย้อนหลัง และสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว
และอีกสารพัดเหตุผล ที่ทำให้ Software เป็นที่ต้องการ มากยิ่งขึ้น
...
ที่สำคัญคือ การแข่งขันในทางธุรกิจ สมัยนี้ไม่ใช่แค่การลดต้นทุนการผลิต แต่มันคือ ความรวดเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งยอดขาย การตลาด ลูกค้า พนักงาน และข้อมูลอื่นๆ อีกมากมาย
...
ด้วยเหตุผลมากมาย ที่ผมเล่ามาเมื่อกี้ นั่นก็หมายความว่า เครื่องมือการเขียนโปรแกรม มันก็มีการพัฒนา ให้ทันต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นแล้ว การเขียนโปรแกรมในยุคปัจจุบันนี้ สิ่งสำคัญคือการรู้ เข้าใจ ในเครื่องมือ และนำมาประยุกต์สร้างงาน เพื่อเอาไปตอบโจทย์แก่ลูกค้า หรือผู้ใช้งานระบบนั่นเอง
...
บทความนี้จึงกำลังบอกแก่ผู้อ่านว่า ในการสร้างโปรแกรม คุณไม่จำเป็นต้องรู้ที่มาที่ไปของภาษา หรือคำสั่งต่างๆ อย่างละเอียดชนิดที่ว่า รู้กระทั่งไอ้คนสร้างภาษา มีกี่คน พ่อแม่มันชื่ออะไร น้องมันเรียนที่ไหน แฟนมันมีกี่คน
หรือแม้กระทั่งจะไปรู้ว่า ในคำสั่งแต่ละอันที่เขาสร้างมานั้น ทำไมเขาจึงสร้าง แล้วข้างในมีการทำงานอย่างไร เชื่อมโยงไปที่ตรงไหนบ้าง
...
ถามว่าไม่รู้ได้ไหม คำตอบคือ "ได้" แล้วอะไรล่ะ ที่เราต้องรู้ ?
ผมเล่าแบบสั้นๆ ครับ คือ "เนื้องาน" เช่นว่า คุณทำระบบ ค้าปลีกค้าส่ง ให้กับลูกค้ารายหนึ่ง สิ่งที่คุณต้องรู้คือ ในการขาย มีกี่แบบ ถ้าขายเป็นเงินเชื่อล่ะ จะทำอย่างไร วางมัดจำมีหรือไม่ เซ็นสัญญา คนค้ำประกันมีไหม มีกี่คน เงื่อนไขแต่ละคนต้องมีคุณสมบัติอะไร เอกสารประกอบมีอะไรบ้าง
การผ่อนชำระมีกี่งวด คิดดอกเบี้ย เท่าไหร่ หากล่าช้าปรับอย่างไร รายวัน หรือคิดตามเรท แล้วการขอผ่อนผัน ทำได้อย่างไรบ้าง
...
ผมเล่าแค่คร่าวๆ นะครับ เพียงรายละเอียดเล็กน้อย มันก็มีรายละเอียดยิบย่อยอีกมากมาย ให้เจาะลึกเข้าไปอีก นั่นคือ "เนื้องาน"
ที่คนสร้างโปรแกรม จะต้องเข้าใจ และสร้างโปรแกรม ให้ตอบโจทย์เหล่านั้น
ไม่ใช่การรู้ภาษาโปรแกรมอย่างละเอียดยิบ แต่ไม่เข้าใจระบบบัญชี ระบบการขนส่ง สต้อก จัดซื้อ ขายปลีก ส่ง ลูกหนี้ เจ้าหนี้
...
แล้วทำไมมีคนบางกลุ่ม มาบอกว่า "พื้นฐาน สำคัญสุด" ผมไม่ได้บอกว่า มันไม่สำคัญ แต่ไม่ได้บอกว่า มันสำคัญถึงขนาดต้องรู้ทุกสิ่ง ที่มีคนอีกกลุ่มพยามมาบอกว่า พื้นฐานสำคัญ ก็เพราะเขาขายความรู้ไงล่ะ คนขายความรู้ ก็ต้องรู้เยอะๆ แบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อขายลูกค้าเดิม ได้หลายครั้ง (ขายหลายๆ คอร์ส)
...
มองโลกให้ออก มองให้ไกลออกไป โลกเรามีคนหลายประเภท ฟังหูก็ไว้หู อย่าเพิ่งรีบเชื่อตาม แม้แต่บทความของผม อ่านแล้วคิด หาข้อมูล วิเคราะห์เพิ่มเติม
บทความตามเว็บมีมากมายให้อ่าน คนเขียนแต่ละคน เขาก็เขียนตามมุมมอง และประสบการณ์ของเขา ผมก็เช่นกัน
หวังว่าบทความนี้ คงพอให้ผู้อ่าน ได้ฉุกคิด หรือเห็นอะไรบางอย่าง ที่ผมแฝงเอาไว้
...
ขอขอบคุณ ทุกท่าน ที่ติดตามงานเขียนของผม
ถาวร ศรีเสนพิลา
กรรมการผู้จัดการ บริษัท Control C จำกัด
21 มีนาคม 2016 เวลา 17.31 ประเทศไทย

ความคิดเห็น

  1. ขอบพระคุณอย่างสูงที่เขียนบทความนี้ ผมเองมีความเช่นเดียวกับท่านเจ้าของบทความเป็นอย่างสูงครับ เพราะผมเองก็ทำงานบนพื้นฐานที่ท่านสื่อออกมาเหมือนกันครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องราวชีวิตของ ถาวร ศรีเสนพิลา

นักสู้ต้นแบบของผม

เทคนิคการทำโปรแกรมขาย